วัดราชโอรส วัดที่เรียนในสมัยมัธยม

วัดราชโอรส

กลับมาถิ่นเดิมจากที่ไม่เคยมาในรอบ 20 กว่าปี โรงเรียนที่เรียนในสมัยมัธยมปลาย และสิ่งที่ตั้งใจทำคือการเขียนเผยแพร่พุทธศาสนา 100 วัด นั้น 1 ในนั้นจะต้องมีวัดราชโอรส วันนี้เลยกลับมาแวะในถิ่นเดิมหลังจากไปสักการะที่วัดหนัง และ วัดนางนองมาแล้ว วัดราชโอรส วันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ส่วนที่ยังคงเดิม ก็อยู่เหมือนเดิม คือพระประธานในอุโบสถ

วัดกับโรงเรียนเป็นสถานที่ติดกัน เคยเรียนที่นี่เกือบ 3 ปี

วันนี้เปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก มีทั้งตึกต่าง ๆ มากมาย ทั้งตึกประชาสัมพันธ์ และ ที่พักสงฆ์ สร้างใหม่อีกเยอะซึ่งเป็นพื้นที่กว้างอยู่แล้ว แต่อยากเข้าไปเก็บบรรยากาศไหว้พระมากกว่า

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

ด้านในอุโบสถหลังเล็ก จะมีพระประธานและรูปปั้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า

พระประธาน พระพุทธชะยะสิทธิธัมมะนาท

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

ในอุโบสถหลังเล็กจะมีรอยพระพุทธบาท และ รูปของพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

ต้องยอมรับว่า รอบ ๆ วัดนี้ น่าจะมาพักผ่อน เพราะ ล้อม ๆ ไปด้วย ทางน้ำผ่าน คลองภาษีเจริญ และต้นไม้ที่ปลูกรอบ ๆ วัด

บริเวณรอบ ๆ วัด สไตล์ วัดคนจีน ในรัชกาลที่ 3

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

พักผ่อนดูบรรยากาศรอบ ๆ แล้ว เข้าไปไหว้พระในอุโบสถกันต่อ

อุโบสถของวัดราชโอรส วัดในรัชกาลที่ 3 ยังคงเหมือนเดิมตอนเรียนเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

จะมีรูปสิ่งโตอยู่หน้าอุโบสถ เมื่อก่อนจะมีลูกหินในปากสิงโต เหมือนจะหายไปหมดละ

พระประธาน และ ภาพรัชกาลที่ 3 ในอุโบสถ

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

ศิลปะ ในผนังของอุโบสถ ก็สวยงาม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เข้ามาเห็นและสืบทอดจนถึงปัจจุบัน

ศิลประในผนังอุโบสถในรัชกาลที่ 3

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

และคนเฝ้าหน้าประตูโบสถ์ก็ยังเหมือนเดิม

คนเฝ้าหน้าประตูโบสถ์

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

อย่าลืมปิดท้ายไปขอพรที่ พระพุทธรูปเก่าแก่ติดกับ คลองภาษีเจริญตรงนี้นะครับ มีพลังงานที่ดีมาก ๆ

พระพุทธรูปเก่าแก่

วัดราชโอรส
วัดราชโอรส

สำหรับวัดราชโอรส ก็เป็นสถานที่อีกแห่ง ถ้ามาไหว้พระฝั่งธนบุรี วัดราชโอรส ควรจะเป็นอันดับต้น ๆ คือ 1 ใน 100 ที่ควรมาเลยครับ มีที่จอดรถกว้างมาก และ ต้นไม้ก็เยอะ ติดตามไปมูวัดต่อไปกันนะครับ

ประวัติความเป็นมาของวัดราชโอรส

วัดแรกแห่งยุคเรเนซองส์ของสยามศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 และจุดเปลี่ยน สำคัญของศิลปะไทย ที่ราชฑูตอังกฤษออกปากชมว่างามที่สุดในบางกอกในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถือได้ว่าเป็นยุคเรเนซองส์ของสยามหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการอย่างแท้จริง เพราะเป็นยุคสมัยที่ว่างเว้นจากสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ประกอบกับพระมหากษัตริย์ทรงใฝ่ในการพระศาสนา ทำให้เกิดการสร้างซ่อมวัดขึ้นมากมายทั้งโดยพระมหากษัตริย์และขุนนาง แต่เนื่องจากการสร้างซ่อมเกิดขึ้นอย่างมากมาย การสร้างแบบไทยประเพณีเดิมซึ่งใช้เวลานานย่อมไม่ทันการและยังไม่คงทนถาวรเพียงพอ ประกอบกับการค้าขายกับชาวจีนที่เฟื่องฟูขึ้น ทำให้เกิดการสร้างงานศิลปแบบกรรมแนวใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ งานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสมผสาน โดยวัดที่น่าจะสร้างภายใต้แนวคิดนี้เป็นแห่งแรกๆ นั่นก็คือ ‘วัดราชโอรสาราม’ วัดประจำรัชกาลที่ 3 นั่นเองวัดราชโอรสารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า ‘วัดจอมทอง’ แต่บ้างก็เรียก ‘วัดเจ้าทอง’ หรือ ‘วัดกองทอง’ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 ขณะทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงเป็นจอมทัพไปตั้งทัพสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ พระองค์ทรงนำทัพผ่านและประทับแรมที่วัดนี้ พร้อมกับทำพิธีเบิกโขลนทวารที่หน้าวัดนี้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กองทัพ หลังจากทรงเลิกทัพกลับพระนครได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งวัดโดยเสด็จประทับคุมงานและตรวจการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง เมื่อแล้วเสร็จได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดราชโอรส’ อันหมายถึงวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนาวัดราชโอรสในเวลานั้นงดงามจนเป็นที่เลื่องลือ แม้แต่นายมีมหาดเล็ก บุตรพระโหราธิบดี ผู้แต่งเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติทูลเกล้าฯ ก็ยังพรรณนาไว้ว่า…“ วัดไหนๆ ก็ไม่ลือระบือยศเหมือนวัดราชโอรสอันสดใสเป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใครล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์ทำทรงสร้างด้วยพระมหาวิริยาธึกโอฬารึกพร้อมพริ้งทุกสิ่งขำล้วนเกลี้ยงเกลาเพราเพริศดูเลิศล้ำฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา.”ไม่เพียงแต่ชาวสยามเท่านั้น แม้แต่ชาวต่างชาติเองก็ชื่นชมในความงามของวัดแห่งนี้ เช่น เซอร์จอห์น ครอว์เฟิร์ด หรือที่ในเอกสารไทยเรียกว่า เสอร์ยอนกะละฟัด ราชทูตอังกฤษที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เขียนบันทึกยกย่องความงามของวัดนี้ว่า“เป็นวัดที่สร้างขึ้นได้อย่างงดงามที่สุดของบางกอก”สิ่งน่าสนใจอย่างแรกของวัดนี้คือแผนผังของวัด เพราะเป็นการนำแผนผังแบบฮวงจุ้ยจีนเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก แผนผังแบบฮวงจุ้ยนั้นบ้านจะหันหน้าไปยังน้ำโดยมีภูเขาใหญ่อยู่ข้างหลัง ขนาบสองข้างด้วยเนินเขา ทีนี้พอเรามาดูแผนผังของวัดราชโอรสกัน วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานของวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นคลอง ด้านหลังเป็นวิหารพระนอนขนาดใหญ่ ขนาบสองข้างด้วยวิหารพระนั่งและศาลการเปรียญ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าน่าจะนำไอเดียของฮวงจุ้ยมาประยุกต์ใช้ที่นี่ ซึ่งแผนผังแบบนี้ถูกใช้อีกแค่วัดเดียว นั่นก็คือ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก่อนที่จะเข้าไปภายในพระอุโบสถก็คือทวารบาล ตามปกติแล้วทวารบาลหากไม่แกะสลักหรือวาดบนบานประตู ก็มักจะเป็นประติมากรรมหินตั้งเอาไว้ แต่ที่นี่ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบขนาดใหญ่ 2 ตัวตั้งเอาไว้แทน ส่วนบานประตูด้านในวาดเป็นเซี่ยวกางหรือทวารบาลจีนโดยที่ด้านนอกเป็นบานประตูประดับมุกรูปมังกรดั้นเมฆ เรียกได้ว่าเป็นการใช้ทวารบาลซ้อนทวารบาลเลยทีเดียวภายในพระอุโบสถประดิษฐาน #พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร พระพุทธรูปปางสมาธิประทับภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นประดิษฐานเหนือพระประธานเมื่อ พ.ศ. 2504 เนื่องจากที่บริเวณผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปองค์นี้มีรูปปราสาทอันเป็นตราแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและศิลาจารึกดวงพระชันษาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนำมาบรรจุเมื่อ พ.ศ. 2397 พร้อมกับการถวายพระนามให้พระพุทธรูปองค์นี้ภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่นาม #พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์_ชินสากยบรมสมเด็จสรรเพชญพุทธบพิตร ชื่ออาจจะยาวสักหน่อย แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการที่พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีการทำลวดลายมงคล 108 ประการที่พระบาทแบบเดียวกับพระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ แต่วัดราชโอรสใช้เทคนิคลายรดน้ำ ส่วนวัดโพธิ์ใช้เทคนิคฝังมุก บานหน้าต่างของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ทำเป็นรูปไม้ดัดและนก ซึ่งเป็นการวาดภาพบนหน้าต่างแนวใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำที่นี่เป็นที่แรกๆ เช่นกันในขณะที่ภายในศาลาการเปรียญก็น่าสนใจไม่แพ้กัน หากไม่นับรอยพระพุทธบาทและลวดลายเครื่องตั้งแบบเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถบนหน้าต่างแล้ว ก็ยังมี #พระพุทธชัยสิทธธรรมนาถ พระพุทธรูปประธานของอาคารหลังนี้แม้จะดูเหมือนพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยแบบที่หาได้ทั่วไป แต่พระหัตถ์ซ้ายแทนที่จะวางไว้ตรงหน้าตักกลับกำมือและถือตาลปัตรแทน พระพุทธรูปเช่นนี้เรียกว่า พระชัยวัฒน์ ซึ่งตามปกติจะเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก แต่การสร้างเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่เช่นนี้เป็นสิ่งที่หาชมได้ยาก มีเพียงไม่กี่วัดในประเทศไทยที่มีพระชัยวัฒน์เช่นนี้อยู่เป็นประธานภายในอาคาร ที่สำคัญ ตาลปัตรที่คล้ายจะบังพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้มีช่องตรงกลางที่ทำให้พอจะสามารถมองเห็นพระพักตร์ของพระปฏิมาได้ด้วยวิหารพระยืน โดยวิหารพระยืนจะอยู่ฝั่งซ้ายของพระอุโบสถ แม้ดูภายนอกวิหารพระยืนจะหน้าตาเหมือนอาคารที่ได้อิทธิพลจีนสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ข้างในกลับเต็มไปด้วยพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เริ่มจาก #หลวงพ่ออู่ทอง ปางห้ามสมุทร (ปางห้ามญาติ) พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนกลาง พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ศิลปะแบบอู่ทอง อันเป็นที่มาของชื่อวิหารพระยืนที่เราจะเห็นเมื่อเข้าไปภายในวิหารและเมื่อเดินทะลุประตูเข้าไปด้านหลังหลวงพ่ออู่ทองก็จะพบกลุ่มพระพุทธรูปสมัยอยุธยาหลายองค์หลากยุค โดยมีองค์ใหญ่สุดตรงกลางเป็นองค์ประธาน ส่วนสาเหตุที่ภายในวิหารพระยืนเต็มไปด้วยพระพุทธรูปที่เก่าแก่ว่าสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นก็เพราะว่าอาคารหลังนี้เคยเป็นอุโบสถของวัดจอมทอง วัดดั้งเดิมสมัยอยุธยาก่อนจะมาเป็นวัดราชโอรสนั่นเอง อาจจะพูดได้ว่า นี่คือส่วนที่เก่าที่สุดของวัดราชโอรสในปัจจุบันนั่นเองเราจะเห็นว่าหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นที่วัดราชโอรสารามนี้ตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลที่ 2 แล้ว หลังจากการปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้แล้วเสร็จและเคลื่อนเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 3 รูปแบบศิลปกรรมเช่นนี้ก็ปรากฏขึ้นอย่างมากมายทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ในเมืองหลวงและต่างจังหวัด และยังส่งอิทธิพลให้การงานศิลปกรรมในยุคสมัยต่อๆ มาในหลายๆ ด้าน เรียกได้ว่าที่นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่งในศิลปะไทยเลยทีเดียว ดังนั้น ถ้าใครไปชมวัดไหนแล้วดูมีความเป็นจีนผสมผสานอยู่มาก ก็เป็นไปได้ว่าวัดเหล่านั้นสร้างขึ้นในยุคสมัยนี้ที่งานศิลปะเช่นนี้เฟื่องฟูอยู่นั่นเอง

พี่อ้วนสายมู